ประเภทของการพิมพ์ 3มิติ ของ การพิมพ์ 3 มิติ

ปัจจุบันประเภทของการพิมพ์ 3มิติ แบ่งตามวัสดุและเทคโนโลยีการขึ้นรูปได้เป็น

ประเภทเทคโนโลยีวัสดุ
ระบบฉีดเส้นวัสดุ

(Extrusion)

Fused deposition modeling (FDM) or Fused filament fabrication (FFF)เทอร์โมพลาสติก, วัสดุที่กินได้, ยาง, ดินปั้น
Robocasting or Direct Ink Writing (DIW)วัสดุเซรามิก, โลหะผสม, วัสดุผสมเซรามิกโลหะ (cermet)
Composite Filament Fabrication (CFF)ไนลอน หรือไนลอนที่มีเส้นใยคาร์บอนเสริมแรง, เคฟลาร์, แก้ว
ระบบเรซิ่น

(Light polymerized)

Stereolithography (SLA)พลาสติกพอลิเมอร์ไวแสง
Digital Light Processing (DLP)พลาสติกพอลิเมอร์ไวแสง
Continuous Liquid Interface Production (CLIP)พลาสติกพอลิเมอร์ไวแสง
ระบบผงวัสดุ

(Powder Bed, Powder Fed)

Powder bed and inkjet head 3D printing (3DP)โลหะผสม, ผงพอลิเมอร์, พลาสเตอร์
Electron-beam melting (EBM)โลหะผสม รวมทั้ง ไทเทเนียมอัลลอย
Selective laser melting (SLM)ไทเทเนียมอัลลอย, โครเมียมอัลลอย, เหล็กกล้าไร้สนิม, อะลูมิเนียม
Selective heat sintering (SHS)[2]ผงเทอร์โมพลาสติก
Selective laser sintering (SLS)เทอร์โมพลาสติก, ผงโลหะ, ผงเซรามิก
Direct metal laser sintering (DMLS)โลหะผสม
Directed Energy Depositionโลหะผสม
ระบบอัดลามิเนต

(Laminated)

Laminated object manufacturing (LOM)กระดาษ, แผ่นฟิล์มโลหะ, แผ่นฟิล์มพลาสติก

ระบบฉีดเส้นวัสดุ

ระบบฉีดเส้นวัสดุ (extrusion deposition) ได้แก่ FDM (Fused Deposit Modeling)[3] หรือ FFF (Fused Filament Fabrication) เป็นรูปแบบการพิมพ์ 3มิติ ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันเนื่องจากการใช้งานที่ง่าย มีหลักการทำงานคือ การหลอมเส้นวัสดุให้กลายเป็นของเหลวแล้วฉีดออกมาเป็นเส้นผ่านหัวฉีด (Nozzle) (ในลักษณะเดียวกับปืนกาวที่ใช้กันทั่วไป) หัวฉีดของเครื่องพิมพ์จะวาดเส้นพลาสติกที่ถูกฉีดออกมาเป็นรูปร่างในระนาบแนวนอน เมื่อเสร็จชั้นหนึ่งๆก็จะพิมพ์ในชั้นต่อๆไป (layers) จำนวนชั้นเป็นไปตามความสูงของแบบ และ ความละเอียดในการพิมพ์

ภาพแสดงหลักการทำงานในระบบฉีดเส้นวัสดุ; a) เส้นวัสดุ ถูกป้อนไปยัง b) ชุดหัวพิมพ์ที่เคลื่อนที่ในแนวนอน จากนั้นจะถูกหลอมด้วยความร้อน ฉีดออกมาเป็นเส้นผ่านหัวฉีดและวาดเส้นตามรูปทรง c) ที่กำหนดเป็นชั้นๆ โดยอาศัยการเคลื่อนที่ขึ้นหรือลงของ e) แท่นรับ, การพิมพ์ในระบบนี้อาจจำเป็นต้องใช้ d) วัสดุรองรับเพื่อรับน้ำหนักวัสดุพิมพ์ที่ยื่นออกมาในลักษณะนั่งร้าน

พลาสติกเป็นวัสดุที่ใช้กันมากที่สุดสำหรับการพิมพ์ระบบนี้ ได้แก่ โพลีเอทิลีนอะครีโลไนไตรล์ (ABS), โพลีคาร์บอเนต (PC), โพลีคลอรีน (PLA), โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE), PC / ABS polyphenylsulfone (PPSU) และโพลิสไตรีนรับแรงกระแทกสูง (HIPS) ทั้งนี้วัสดุรองรับต้องมีส่วนผสมที่ทำให้ละลายน้ำได้หรือสามารถแกะออกจากวัสดุพิมพ์ได้ง่าย

ระบบเรซิ่น

ระบบเรซิ่น หรือ ระบบถาดเรซิ่น ได้แก่ SLA (Stereolithography) หรือ DLP (Digital Light Processing) เป็นระบบที่ใช้การฉายแสงไปที่ตัววัสดุพอลิเมอร์ไวแสง (Photo Resin, Photopolymer)บรรจุในถาดที่เคลื่อนที่ขึ้นลงได้ เมื่อเรซิ่นถูกแสงจะแข็งตัวเฉพาะจุดที่โดนแสง จึงใช้หลักการแข็งตัวของเรซิ่นนี้ในการทำชิ้นงานให้เกิดรูปร่างขึ้นมา เมื่อทำให้เกิดรูปร่างขึ้นในชั้นหนึ่งๆแล้วเครื่องก็จะเริ่มทำให้แข็งเป็นรูปร่างในชั้นต่อๆไปโดยการเคลื่อนถาดลงไปทีละชั้น จนเกินเป็นชิ้นงานวัตถุที่จับต้องได้

ภาพแสดงหลักการทำงานในระบบเรซิ่น; a) เครื่องฉายแสงอาจเป็นได้ทั้งเลเซอร์หรือลำแสงUV จะฉายแสงไปตัววัสดุผ่านถาดที่โปร่งแสงที่บรรจุเรซิ่นเหลว b) จากนั้นเรซิ่นเหลวจะแข็งตัวเฉพาะจุดที่โดนแสงที่กำหนดไว้ c) จากนั้นอาศัยการเลื่อนขึ้นของแท่นจับงาน e) ยกส่วนที่แข็งตัวแล้ว d) สำหรับการพิมพ์ทีละชั้นถัดไป

ระบบผงวัสดุ

ระบบผงวัสดุ มีการพิมพ์ 2 รูปแบบคือ การพิมพ์ตัวยึดจับ (Binder) หรือ กาว ลงไปรวมผงวัสดุ เพื่อผสานยึดตัวเข้าด้วยกันเป็นรูปร่าง เมื่อสร้างเสร็จในชั้นหนึ่ง เครื่องพิมพ์จะเกลี่ยผงวัสดุมาทับเป็นชั้นบางๆในชั้นต่อไป ได้แก่ 3DP (Powder Bed and Inkjet Printer) เป็นระบบที่ใช้ผงยิปซั่ม+สี Ink Jet (Powder 3D Printer หรือ ColorJet Printing) เป็นระบบใช้ผงยิปซั่ม/ผงพลาสติก เป็นตัวกลางในการขึ้นชิ้นงาน โดยจะพิมพ์สีลงไปเป็นตัวยึดจับ

การพิมพ์ด้วยการหลอมผงวัสดุ SLS (Selective Laser Sintering) หรือ SLM (Selective Laser Melting) วัสดุที่ใช้ได้แก่ ผงเทอร์โมพลาสติก, ผงโลหะ, ผงเซรามิก เป็นรูปแบบการพิมพ์ที่มีหลักการทำงานคล้ายระบบ SLA ต่างกันตรงแทนที่จะทำให้เรซิ่นแข็งตัวโดยการฉายแสง SLS จะใช้ความร้อนจากการฉายแสงเพื่อหลอมละลายทำให้ผงวัสดุหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกัน

ภาพแสดงหลักการทำงานในระบบผงวัสดุ; a) ชุดหัวพิมพ์เคลื่อนที่ในแนวนอน ไปยังจุดที่กำหนดในแท่นจับงานที่บรรจุผงวัสดุ e) เพื่อฉีดตัวยึดจับให้ผงวัสดุยึดตัว หรือ ฉายแสงเลเซอร์เพื่อหลอมผงวัสดุให้ยึดตัว d) วัสดุที่ยึดตัวกันเป็นรูปร่างจะถูกเลื่อนลงทีละชั้นไปตามแท่นจับงาน f) จากนั้นจะมีการเติม b) ผงวัสดุใหม่ลงไปอย่างต่อเนื่องจาก c) ถาดเก็บผงวัสดุ

ระบบอัดลามิเนต

ระบบอัดลามิเนตไม่เป็นที่แพร่หลาย มีหลักการคือ ใช้การตัดรูปกระดาษเคลือบพลาสติก, แผ่นฟิล์มโลหะ หรือแผ่นฟิล์มพลาสติก ด้วยมีดหรือเครื่องตัดด้วยเลเซอร์และติดกาวต่อกันเป็นชั้นๆ วัตถุที่พิมพ์ด้วยเทคนิคนี้อาจได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมโดยการตัดเฉือนหรือการเจาะหลังจากการพิมพ์[4]

ภาพแสดงหลักการทำงานในระบบอัดลามิเนต; 1) ม้วนวัสดุแผ่นฟิล์ม, 2) ลูกกลิ้งความร้อน, 3) แสงเลเซอร์, 4) หัวฉายแสงเลเซอร์, 5) เครื่องปฏิกรณ์, 6) ชั้นงานที่ยึดตัวแล้ว, 7) แท่นจับงานเคลื่อนที่ในแนวตั้ง, 8) ม้วนวัสดุใช้แล้ว